ประชาชนชาวชุมพร และนักท่องเที่ยวที่ผ่าน “วัดป่ายาง”
ตั้งอยู่ ต.สะพลี
อ.ปะทิว จ.ชุมพร
ตื่นตาตื่นใจกับสิ่งที่เห็นคือไอเดียเก๋ๆผนวกกับความเชื่อของเจ้าอาวาสวัดป่ายาง
โดยทาสีวัดเป็นสีเหลืองทองทั้งหมด
ประกอบด้วย พระอุโบสถ พระเจดีย์
พระปรางค์ต่างๆ หอระฆัง ประตูรั้ว
ซุ้มประตูทางเข้าวัด
องค์รูปจำลองพระโพธิสัตว์กวนอิม
เป็นความมหัศจรรย์ และความแปลกใหม่เป็นวัดแรกของจังหวัดชุมพรที่ทาสีทองเหลืองอร่ามทั้งวัด
สร้างความประทับใจให้กับบุคคลทั่วไปที่พบเห็นและสามารถดึงดูดความสนใจจุดประกายให้เยาวชนหันมาสนใจในพระพุทธศาสนามากขึ้นด้วย
สำหรับบรรยากาศภายในบริเวณวัดมีต้นไม้น้อยใหญ่ให้ความร่มรื่น เย็นสบาย เงียบสงบ
มีศาสนสถานกว้างขวางเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมวินัยตามพระพุทธศาสนา เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ
พระครูนิเทศธรรมพิลาส (หลวงปู่) เจ้าอาวาสวัดป่ายาง เล่าว่า
สาเหตุที่ต้องเน้นทาสีเหลืองทอง
เพราะเป็นสีที่สวยงาม และมีอนุภาพ
เป็นสีแห่งบุญใครมองแล้วรู้สึกสุขสดชื่นมีบารมี
และทนทานประหยัดค่าใช้จ่ายเสียมากแต่อยู่ได้นานคงทน วัดต้องให้ดูใหม่เสมอสะอาด ทาสีทองตั้งแต่เริ่มสร้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ภายในวัดทั้งหมด
เพราะเป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความเคารพบูชา
เช่นพระพุทธเจ้าให้คำสั่งสอนที่ดีให้ของดีกับทุกคน
และทุกคนก็ให้ความเคารพเพราะฉะนั้นเราต้องเอาสีทองมาทาให้สวยงามเพื่อให้เหมาะสมกับพระพุทธเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สีทองคือสีที่สะท้อนถึงอนุภาพของความดี
ปัจจัยที่ญาติโยมทำบุญมาให้วัดพยายามสะสมทีละเล็กทีละน้อยจนมีมากขึ้น
ส่วนการก่อสร้างพระธาตุเจดีย์พุทธภัททภัปป
หลวงปู่ ยังเล่าอีกว่า เขียนแปลนด้วยตัวเองใช้เวลา 1
คืน และเริ่มสร้างด้วยเงินเพียง 2,500 บาท ด้วยลักษณะเหมือนรูปดอกบัว 5
ดอก มีพญานาคจำนวน 4 ตัว อยู่ล้อมรอบบนเจดีย์ เพื่อให้ดูแล
เพราะพญานาคเป็นคู่บุญกับพระพุทธศาสนา จนถึงปัจจุบันเงิน 2,500
บาทก็ยังไม่หมดมันก็ยังงอกเงยขึ้นเรื่อยๆ
วัดป่ายาง หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดเนินสำลี” แต่เดิมชื่อวัดศรีวิไลซ์รัตนาราม ตั้งอยู่เลขที่ 35
หมู่ 4 ต.สะพลี
อ.ปะทิว จ.ชุมพร
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
วัดป่ายางสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2400 โดยมีพระภิกษุ ฤกษ์
เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการก่อสร้าง
ในปีพ.ศ.2485
ได้ดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถโดยการนำของพระภิกษุ ไฝ มีญาติโยมช่วยกันสร้าง
มุงหลังคาด้วยใบจาก และสร้างแล้วเสร็จในปี
พ.ศ.2487
ในสมัยนั้นพื้นที่ของวัดส่วนใหญ่เป็นป่ามีไม้นานาพันธุ์ โดยเฉพาะต้นยาง อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่า ธรรมชาติร่มรื่น
ราษฎรตำบลสะพลีและตำบลใกล้เคียงมักจะนำบุตรหลานมาฝากไว้ที่วัด เพื่อให้ได้ศึกษาเล่าเรียน
และบวชอยู่ในวัดแห่งนี้
ต่อมาในปี พ.ศ.2510 กรมการศาสนาได้เปลี่ยนชื่อวัดว่า วัดป่ายาง ซึ่งมีพระภิกษุชม สุจิตุโต เป็นเจ้าอาวาส อีก 5 ปี ต่อมา
ทางวัดได้ก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น
ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนใช้เวลาก่อสร้างถึง 9 ปี จึงแล้วเสร็จในปี พ.ศ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น