กลุ่มรักษ์อ่าวทุ่งมหา
ซึ่งอยู่ที่ชุมชนบ้านทุ่งมหา ต. ปากคลอง อ.ปะทิว จ.ชุมพร
ได้ร้องเรียนมายังผู้สื่อข่าวพร้อมกับพาไปดูนากุ้งของนายทุนใหญ่ในพื้นที่ตำบลปากคลอง
ลักลอบปล่อยน้ำเสียออกสู่ทะเลโดยไม่มีการบำบัด
โดยทำการวางท่อน้ำเสียให้ไหลลงทะเลอย่างเห็นชัดเจนโดยไม่มีการบำบัด
จนทำให้น้ำบริเวณชายหาดอ่าวทุ่งมหาเน่าเหม็น
ก่อนหน้านี้
มีชาวประมงบางคนทนไม่ไหวจนต้องเลิกอาชีพประมงชายฝั่งไปเลยก็มี ตัวแทนกลุ่มได้แจ้งว่า ทำมานานนับสิบปี
ร้องเรียนไปแล้วหลายครั้ง แต่ไม่มีใครสนใจแก้ปัญหาอย่างจริงจัง และวันนี้
วันที่ 9 พ.ย 59
ชาวบ้าน ต.ปากคลอง อ.ปะทิว จ.ชุมพร ร้องเรียนไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กรณีบ่อเลี้ยงกุ้งของนายทุนใหญ่ปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเลจนน้ำเน่าเสีย
ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลนซึ่งเป็นห่วงโซ่อาหาร ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำและเป็นที่อนุบาลสัตว์เล็กชายฝั่ง
จากการไปตรวจสอบในพื้นที่ พบมีบ่อเลี้ยงกุ้ง
1 บ่อ เป็นบ่อขนาดใหญ่อยู่บนเนื้อที่ราว
2 ไร่ตัวแทนกลุ่มรักษ์อ่าวทุ่งมหา
ได้กล่าวว่า
ในช่วงเช้านายทุนเข้ามาจับกุ้งและทำการสูบน้ำจากทะเลอีกด้านหนึ่งและปล่อยน้ำเสียเวลาจับกุ้งไปยังทะเลอีกด้านหนึ่งในรอบหนึ่งปีจะมีการเลี้ยงกุ้ง
3 รอบ
เมื่อจับกุ้งทุกครั้งก็จะปล่อยน้ำเสียลงทะเลแบบนี้ทุกครั้ง ซึ่งนากุ้งแห่งนี้ได้ทำมานานนับสิบปีแล้ว
ชาวบ้านเคยร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่หลายครั้ง แต่ไม่ได้รับความสนใจ
นากุ้งขนาดใหญ่แห่งนี้ได้ปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเลมานานแล้ว ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำชายฝั่งอย่างมาก
ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพทำประมงพื้นบ้าน ออกจับปลาตามชายฝั่ง
ปัจจุบันนี้ไม่มีสัตว์น้ำให้จับอีกแล้ว เพราะผลกระทบจากการปล่อยน้ำเสียของนากุ้ง
หลายคนชาวบ้านที่ประกอบอาชีพทำประมงพื้นบ้าน ออกจับปลาตามชายฝั่ง
ปัจจุบันนี้พบว่าสัตว์น้ำลดจำนวนลง
ทั้งที่ชาวบ้านในพื้นที่ร่วมกันอนุรักษ์ป่าชายเลนแปลงใหญ่ที่มีอยู่ในพื้นที่อ่าวทุ่งมหา
แต่พอเห็นเหตุการณ์เช่นนี้ ชาวบ้านรู้สึกเสียใจ
เพราะจะส่งผลกระทบจากการปล่อยน้ำเสียของนากุ้งต่อระบบนิเวศทางทะเลทุก ๆ
ด้าน
การปล่อยน้ำเสียในครั้งนี้
นางสาวชิดสุภางค์ ชำนาญ
เลขาธิการสมาคมเพื่อนสิ่งแวดล้อมจังหวัดชุมพร กล่าวว่า พื้นที่อ่าวทุ่งมหา
ต.ปากคลอง นี้ เป็นพื้นที่ที่มีป่าชายเลนแปลงใหญ่สุดของอำเภอปะทิว มีมากถึง 6 พันกว่าไร่ และตั้งแต่ปี 44 เป็นต้นมา มีกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนอ่าวทุ่งมหาได้ทำการฟื้นฟูป่าชายเลนให้เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของคนทั้งอำเภอปะทิว
เนื่องจากเป็นแหล่งขยายพันธุ์สัตว์น้ำ แหล่งธนาคารปู
จึงขอฝากไปถึงหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องลงมาจัดการด้วย
เพราะได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง และถ้าปล่อยไว้เช่นนี้
ยังไม่มีหน่วยงานเกี่ยวข้องลงมาดูแล
ชาวบ้านอาจจะต้องใช้มาตรการกดดันที่รุนแรงมากขึ้นต่อไป
กลุ่มอนุรักษ์ทุ่งมหาร้องเรียนผ่านสื่อดาวใต้ออนไลท์และสำนักข่าวทีนิวส์ล่าสุดผู้ว่าได้สั่งตรวจสอบจากกรณีที่มีบ่อกุ้งในพื้นที่ตำบลปากคลอง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ลักลอบปล่อยน้ำเสียออกสู่ทะเลโดยไม่มีการบำบัด จนทำให้น้ำบริเวณชายหาดอ่าวทุ่งมหาเน่าเหม็น ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และสัตว์น้ำบริเวณดังกล่าว สร้างความเดือดร้อนให้ประมงชายฝั่งในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน นายณรงค์ พลละเอียด ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ได้สั่งการให้ส่วนอำเภอปะทิว เรียกประชุมร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ประมงจังหวัด สิ่งแวดล้อมจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด เจ้าท่า ศูนย์วิจัยและพัฒนาชายฝั่งทะเล หัวหน้าสถานีป่าชายเลน กำนันผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งเข้าร่วมประชุม พร้อมกับลงพื้นที่ เพื่อตรวจสอบกรณีดังกล่าว
นายพิทักษ์ บริพิศ นายอำเภอปะทิว เปิดเผยว่า ภายหลังจากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่า มีบ่อเลี้ยงกุ้งลักลอบปล่อยน้ำเสียออกสู่ทะเลโดยไม่มีการบำบัด สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านในพื้นที่ และได้นำน้ำบริเวณดังกล่าวไปตรวจสอบ พบมีสาร EOD มีค่าเกินมาตรฐาน จึงได้สั่งให้เจ้าของบ่อกุ้งดำเนินการปรับปรุงให้ถูกต้อง นอกจากนี้ยังได้ดูข้อกฎหมาย เพื่อจะเอาผิดกับเจ้าของบ่อกุ้งดังกล่าว เพื่อไม่ให้กระทำความผิดซ้ำ
นายอำเภอปะทิว กล่าวต่ออีกว่า ผู้ประกอบการประมงจะต้องจดทะเบียนทั้งระบบฟาร์ม มีบ่อบำบัดน้ำเสียตามขั้นตอน แต่จังหวัดชุมพรไม่ได้กำหนดมาตรฐานดังกล่าว ซึ่งไม่เหมือนโรงงานอุตสาหกรรมที่ออกข้อกำหนดไว้เป็นมาตรฐานสากล แต่จะใช้วิธีคำนวณโดยสังเขปว่าขนาดบ่อเลี้ยงกุ้งประมาณ 1 ไร่ ต้องมีบ่อบำบัด กว้างลึกประมาณเท่าไหร่ เป็นเงื่อนไขที่ทางจังหวัดต้องหาทางออกพร้อมกับผู้ประกอบการ และต้องตรวจสอบรวมถึงการจดทะเบียนฟาร์มทั้งหมดด้วย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องลงพื้นที่ตรวจสอบมาตรฐานทุกครั้ง ก่อนทำการเลี้ยงกุ้ง เพื่อให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย และเป็นเรื่องที่ดีที่ชุมชน ส่วนท้องถิ่น ได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ สอดส่องดูแล การกระทำความผิดของผู้ประกอบการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น