“โครงการเชื่อมโยงหัวขบวนผู้ประกอบการ SMEs เกษตรกร”

               


นายคุ้มพงษ์ ทวิชศรี รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคใต้ตอนบนเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “โครงการ เชื่อมโยงหัวขบวนผู้ประกอบการ SMEs เกษตรกร”    วันที่ 7 กรกฎาคม 2559 เวลา 9.00 น. ณ โรงแรมโนโวเทลชุมพร บีช รีสอร์ท แอนด์ กอล์ฟ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ชุมพร โดยมี นายเรืองชัย เจริญกิจสุพัฒน์     ผู้อำนวยการศูนย์บ่มเพาะและพัฒนานวัตกรรม SMEs เกษตร เป็นผู้กล่าวรายงานตามแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถภาคการเกษตร           เพื่อสนับสนุนการยกระดับเกษตรปฐมภูมิสู่เกษตรอุตสาหกรรมนการส่งเสริมเกษตรกร องค์กรและสถาบันของเกษตรกรในฐานะเจ้าของผลผลิตให้เป็นผู้ประกอบการอุตสหากรรมแปรรูปทางเกษตร เพื่อให้แผนพัฒนาตามยุทธศาสตร์สามารถขับเคลื่อนและพัฒนาเกษตรกรให้สามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตของตนเองเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับชุมชน ซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ


 โดยใช้กระบวนการความร่วมมือ ช่วยเหลือ แบ่งปัน ในการสัมมาครั้งนี้ มีเข้าร่วมสัมมนา จำนวน 30 คน ซึ่งประกอบด้วย หัวผู้ประกอบการ
SMEs เกษตร  7 กลุ่ม ได้แก่ แม่บ้านริมร่อง จังหวัดลำพูน ผลิตภัณฑ์ลำไยเนื้อสีทองอบแห้ง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำสวนเพื่อการผลิตและแปรรูปผลผลิตการเกษตร แสงผึ้ง จังหวัดลำพูน ผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งจากสวนลำไย หกจ. ภัคร์ฑิลา ไทย เฮอร์เบิล จังหวัดลำปาง ผลิตภัณฑ์น้ำชาสมุนไพร/สมุนไพรอบแห้ง วิสาหกิจชุมชนสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ผลิตภัณฑ์ผลไม้อบแห้ง/กระเจี๊ยบ ขนุน มะม่วง กลุ่มวิสาหกิจแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านบ่อเหมืองน้อย จังหวัดเลย ผลิตภัณฑ์เม็ดคาเดเมีย/แยมสตอเบอรี่ บริษัท ชายน้อย ฟู้ด จำกัด จังหวัดชุมพร ผลิตภัณฑ์ทุเรียนอบแห้ง กลุ่มหมอนยางพาราบ้านพังดาม จังหวัดพัทลุง ผลิตภัณฑ์แปรรูปยางพาราเป็นหมอนยางพารา ผู้แทน ธ.ก.ส. อาจารย์ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูป

    ธนาคารเพื่อการเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในฐานะเป็นองค์การของรัฐมีหน้าที่ดูแลให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และรัฐบาลได้มีนบายเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนแนวทางภาคเกษตรกรให้เป็นเกษตรอุตสาหกรรม โดยได้มอบนโยบายสินเชื่อ 1 ตำบล 1 SMEs เกษตร ให้ ธ.ก.ส.ดำเนินการ เพื่อมุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้มีความเข้มแข็ง มั่งคั่ง และยั่งยืน
                ในการนี้ ธ.ก.ส.ได้ดำเนินการขับเคลื่อนงานนโยบายดังกล่าวไปแล้วโดยสนับสนุนสินเชื่อให้กับเกษตรกร สถาบันเกษตรกร เพื่อปรับเปลี่ยนจากผู้ผลิตมาเป็นผู้ประกอบการ SMEs เกษตร ซึ่งสามารถทำให้เศรษฐกิจภาคเกษตรเข้มแข็ง และมีเสถียรภาพมากขึ้นจากการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว ธ.ก.ส. สามารถสร้างผู้ประกอบการ SMEs เกษตร ในระดับหัวขบวนที่ประสบความสำเร็จได้หลายราย และเพื่อให้หัวขบวนเหล่านี้ได้มีนวัตกรรมใหม่ๆ ในการผลิตและสามารถพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น ดังนั้น ธ.ก.ส. โดยศูนย์   บ่มเพาะและพัฒนานวัตกรรม SMEs เกษตร ซึ่งเป็นส่วนงานที่ทำหน้าที่ในการให้ความรู้ คำปรึกษา และแนะนำด้านต่างๆ ทางธุรกิจ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือด้านการตลาดแก่ผู้ประกอบการ SMEs เกษตร 
ได้จัดทำโครงการเชื่อมโยงหัวขบวนผู้ประกอบการ SMEs เกษตร ซึ่งดำเนินการในรูปแบบของการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ได้มีโอกาสพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ด้านต่างๆ  นวัตกรรมเพื่อพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด และยกระดับในการผลิต แปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีคณะอาจารย์/ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญที่ ธ.ก.ส. เชิญมาร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย ได้เข้ามาช่วยเหลือในการให้คำแนะนำชี้แนะเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจทั้งด้านการผลิตและนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการได้ไปปรับปรุงพัฒนาตัวสินค้าให้ดีขึ้น
    ที่ผ่านมาได้มีผู้ประกอบการ SMEs เกษตร ที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีการพัฒนาสินค้า และมีนวัตกรรมใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านี้มีความเข้มแข็งสามารถเป็นหัวขบวน ให้ผู้อื่นได้เรียนรู้และเป็นต้นแบบในการพัฒนาธุรกิจ ศูนย์บ่มเพาะและพัฒนานวัตกรรม SMEs เกษตร เห็นว่าหากจัดให้     หัวขบวนเหล่านี้ได้มาพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้/นวัตกรรมระหว่างกัน จักเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง ที่จะทำให้เกิดการพัฒนาสินค้าของแต่ละรายได้เป็นอย่างดี และอาจจะเชื่อมโยงวัตถุดิบ ตลอดจนเชื่อมโยงตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศระหว่างกันได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข่าวที่ได้รับความนิยม