วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
บริษัทซีพีเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) โดยคุณบุญธรรม กังแฮ กรรมการผู้จัดการบริษัท และคุณประมวล กล่อมดง ร่วมกับสมาคมเพื่อนสิ่งแวดล้อมจังหวัดชุมพร
เทศบาลตำบลทะเลทรัพย์ , โรงเรียนปะทิววิทยา ,สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดชุมพร และผู้นำชุมชน สถานศึกษาในพื้นที่ ร่วมปลูกป่าต้นน้ำและได้มอบอุปกรณ์ป้องกันไฟป่าให้กับชุมชนทะเลทรัพย์ กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสครองราชย์ 70 ปี และ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 7 รอบ สิงหาคม 2559 โดยมีนายสมดี คชายั่งยืน ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนต่าง ๆ เช่น นายประวิตร พุ่มสุวรรณ นายกเทศมนตรีตำบลบางสนพร้อมเลขาฯ
นายมานพ ชาญนคร ,นายสุพจน์ พุ่มพร้อมจิตร นายกเทศมนตรีตำบลทะเลทรัพย์ นายอุดม ทองเจิม ประธานศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาจังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นตัวแทนในพื้นที่ ร่วมด้วยช่วยกันอย่างแข็งขัง กำลังหลักสำคัญคือ ผู้ใหญ่ถนอม จินดาพรหม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร พื้นที่ป่าต้นน้ำพรุตาอ้าย มีพื้นที่ประมาณ 382 ไร่ เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญยิ่งของอำเภอปะทิว ที่ชุมชนซึ่งตั้งเป็นกลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำพรุตาอ้าย ร่วมกันอนุรักษ์กันมาเป็นระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เพื่อรักษาผืนป่าไม้ไว้เป็นแหล่งซับน้ำและแหล่งต้นน้ำในชุมชน ซึ่งการร่วมอนุรักษ์กันมาเป็นระยะเวลานานแล้วนั้น ทำให้เห็นความชัดเจนที่เป็นรูปธรรมของป่าต้นน้ำคือ ในช่วงฤดูแล้งในทุก ๆ ปี พื้นที่อื่น ๆ จะประสบปัญหาขาดน้ำเพื่อการเกษตร แต่พื้นที่แห่งนี้มีน้ำใช้ตลอดปีแต่ในช่วงฤดูแล้งจะน้อยหน่อย แต่ก็ไม่ขาด เนื่องจากเรามีผืนป่าซับน้ำไว้และค่อยๆ ไหลลงสู่ลำคลองผ่านชุมชน
เทศบาลตำบลทะเลทรัพย์ , โรงเรียนปะทิววิทยา ,สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดชุมพร และผู้นำชุมชน สถานศึกษาในพื้นที่ ร่วมปลูกป่าต้นน้ำและได้มอบอุปกรณ์ป้องกันไฟป่าให้กับชุมชนทะเลทรัพย์ กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสครองราชย์ 70 ปี และ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 7 รอบ สิงหาคม 2559 โดยมีนายสมดี คชายั่งยืน ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนต่าง ๆ เช่น นายประวิตร พุ่มสุวรรณ นายกเทศมนตรีตำบลบางสนพร้อมเลขาฯ
นายมานพ ชาญนคร ,นายสุพจน์ พุ่มพร้อมจิตร นายกเทศมนตรีตำบลทะเลทรัพย์ นายอุดม ทองเจิม ประธานศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาจังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นตัวแทนในพื้นที่ ร่วมด้วยช่วยกันอย่างแข็งขัง กำลังหลักสำคัญคือ ผู้ใหญ่ถนอม จินดาพรหม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร พื้นที่ป่าต้นน้ำพรุตาอ้าย มีพื้นที่ประมาณ 382 ไร่ เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญยิ่งของอำเภอปะทิว ที่ชุมชนซึ่งตั้งเป็นกลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำพรุตาอ้าย ร่วมกันอนุรักษ์กันมาเป็นระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เพื่อรักษาผืนป่าไม้ไว้เป็นแหล่งซับน้ำและแหล่งต้นน้ำในชุมชน ซึ่งการร่วมอนุรักษ์กันมาเป็นระยะเวลานานแล้วนั้น ทำให้เห็นความชัดเจนที่เป็นรูปธรรมของป่าต้นน้ำคือ ในช่วงฤดูแล้งในทุก ๆ ปี พื้นที่อื่น ๆ จะประสบปัญหาขาดน้ำเพื่อการเกษตร แต่พื้นที่แห่งนี้มีน้ำใช้ตลอดปีแต่ในช่วงฤดูแล้งจะน้อยหน่อย แต่ก็ไม่ขาด เนื่องจากเรามีผืนป่าซับน้ำไว้และค่อยๆ ไหลลงสู่ลำคลองผ่านชุมชน
ป่าพรุตาอ้าย เป็นป่าต้นน้ำที่สำคัญ อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๑ ตำบลทะเลทรัพย์ ซึ่งพรุแห่งนี้ ผลิตน้ำให้กับคลองท่าตาเสือ มีประชาชนใช้ประโยชน์ จำนวน ๓ ตำบลด้วยกัน คือ ตำบลบางสน ตำบลทะเลทรัพย์ และตำบลสะพลี มีลักษณะเป็นป่าที่ขึ้นบริเวณที่ลุ่มมีน้ำขังติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจแห้งแล้งในบางครั้ง แต่ดินยังคงชื้นสูง และดินเป็นกรดจัด มีซากของใบไม้และเศษพืชทับถมหนาโดยไม่สลายตัวหรือสลายน้อยเรียกว่าดินพีท (peat) ชนิดไม้มีการปรับตัวเป็นพิเศษที่เจริญเติบโตได้ในน้ำและดินที่เป็นกรดสูง ไม้ส่วนใหญ่มีรากแก้วค่อนข้างสั้น รากแขนงแผ่กว้าง มีรากค้ำยัน (stilt roots) โคนต้นมีพูพอน มีรากหายใจ สภาพป่าโปร่ง และมีลำธารยาวไหลลงสู่แหล่งน้ำคลองท่าตาเสือ บริเวณสองฟากฝั่ง เป็นโขดหินสูงบ้างต่ำบ้าง บางช่วงเป็นลักษณะคล้ายน้ำตก มีน้ำขังเป็นบางช่วงเด็ก ๆ สามารถลงไปอาบน้ำได้เหมือนน้ำตกทั่วๆ ไป ระบบนิเวศของป่าพรุ นับว่ามีความแตกต่างจากแหล่งอื่นค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นระบบที่เป็นกึ่งป่าบกและกึ่งระบบของบึงน้ำ ป่าพรุเป็นแหล่งควบคุมความสมดุลตามธรรมชาติเป็นพื้นที่ลุ่ม จึงเป็นแหล่งสะสมตะกอนจากป่าบกข้างเคียงทำให้ปัญหาการติดขัดของการหมุนเวียนของธาตุอาหารพืชหมดไป แต่ถ้าหากมีการทำลายป่าชนิดนี้ลงและเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ปลูกพืชล้มลุก
พันธุ์ไม้ที่ปลูกในวันนี้จำนวน
1999 ต้น ประกอบด้วย ไม้เคี่ยม,อินทนิน, สีเสียดแก่น,ตาเสือ,หลุมพอ,ตะเคียน,มะฮอกกานี,ต้นสัก,ต้นหว้า,จาน
,พยุง โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์เพาะชำกล้าไม้จังหวัดชุมพร
ผู้ใหญ่ถนอม
จินดาพรหม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลทะเลทรัพย์ อ.
ปะทิว พร้อมด้วยแกนนำชุมชนร่วมกันจัดตั้ง “เครือข่ายอนุรักษ์ป่าต้นน้ำพรุตาอ้าย”ด้วยเห็นความสำคัญของ พรุตาอ้ายเป็นป่าต้นน้ำที่ผลิตน้ำให้กับ “ลำคลองท่าตาเสือ” เป็นลำคลองที่ชุมชนใช้ประโยชน์จากน้ำในลำคลองเพื่อการเกษตร นอกจากนี้ในพื้นที่ยังมี “น้ำตกแก่งคอย หรือ น้ำตกสวนปาล์ม”
ที่ประชาชนทั่วไปใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน ในช่วงวันหยุดหรือช่วงเทศกาล พื้นที่ปาพรุตาอ้าย เป็นพื้นที่สาธารณะจำนวนกว่า 500 ไร่ ซึ่ง เป็นทรัพยากรอันสำคัญที่เป็นแหล่งกำเนิดแม่น้ำหลาย ๆ สาย ให้กับชุมชนอำเภอปะทิว ป่าต้นน้ำพรุตาอ้าย เป็นแหล่งผลิตน้ำปีละปริมาณมาก ๆ เพราะในพื้นที่มีสภาพเป็นพรุ มีพันธุ์ไม้ที่หลากหลายชนิด ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่จากการเข้าไปสำรวจร่วมกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน พบว่า มีตาน้ำผุดขึ้นมาจากใต้ดินเป็นจำนวนมากและไหลลงสู่ลำธารอันเป็นป่าต้นน้ำที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งเป็นความโดดเด่นของพื้นที่แห่งนี้ ที่ในหลายพื้นที่ไม่มีความหลากหลายของพันธุ์ไม้ ระบบนิเวศป่าต้นน้ำพรุตาอ้าย พบว่า พื้นที่ดังกล่าวยังเป็นป่าต้นน้ำที่สมบูรณ์ ปริมาณน้ำยังมากพอที่สามารถไหลลงสู่ลำคลองท่าตาเสือได้อย่างไม่เกิดปัญหาขาดน้ำในช่วงฤดูแล้ง นับว่าเป็นการพลิกฟื้นคืนป่าพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนในอนาคตถึงลูกหลานต่อไป
ที่ประชาชนทั่วไปใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน ในช่วงวันหยุดหรือช่วงเทศกาล พื้นที่ปาพรุตาอ้าย เป็นพื้นที่สาธารณะจำนวนกว่า 500 ไร่ ซึ่ง เป็นทรัพยากรอันสำคัญที่เป็นแหล่งกำเนิดแม่น้ำหลาย ๆ สาย ให้กับชุมชนอำเภอปะทิว ป่าต้นน้ำพรุตาอ้าย เป็นแหล่งผลิตน้ำปีละปริมาณมาก ๆ เพราะในพื้นที่มีสภาพเป็นพรุ มีพันธุ์ไม้ที่หลากหลายชนิด ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่จากการเข้าไปสำรวจร่วมกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน พบว่า มีตาน้ำผุดขึ้นมาจากใต้ดินเป็นจำนวนมากและไหลลงสู่ลำธารอันเป็นป่าต้นน้ำที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งเป็นความโดดเด่นของพื้นที่แห่งนี้ ที่ในหลายพื้นที่ไม่มีความหลากหลายของพันธุ์ไม้ ระบบนิเวศป่าต้นน้ำพรุตาอ้าย พบว่า พื้นที่ดังกล่าวยังเป็นป่าต้นน้ำที่สมบูรณ์ ปริมาณน้ำยังมากพอที่สามารถไหลลงสู่ลำคลองท่าตาเสือได้อย่างไม่เกิดปัญหาขาดน้ำในช่วงฤดูแล้ง นับว่าเป็นการพลิกฟื้นคืนป่าพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนในอนาคตถึงลูกหลานต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น